ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลงพื้นที่หาข้อมูล ตูปะซูตง อ.เทพา จ.สงขลา


ตูปะซูตง อัตลักษณ์อาหารหวาน ชายแดนใต้
       
ตูปะซูตง เป็นภาษาถิ่นมลายู ตูปะ (หรือ ตูป๊ะ,ตูปัต) หมายถึง ข้าวต้มใบกระพ้อ มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวห่อใบกระพ้อแล้วนำไปต้มคล้ายข้าวต้มมัด, ซูตง หมายถึง ปลาหมึก เมื่อรวมกันจึงหมายถึงปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียวต้มหวาน เป็นอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี คนในพื้นที่จึงนิยมรับประทานเป็นอาหารหวาน จะความปราณีตและทะนุถนอมในการทำและปรุงรสนั้น คงไม่พ้นฝีมือคนเฒ่าคนแก่ คนดั้งเดิมในพื้นที่         
        "ตูปะซูตง" เป็นอาหารพิเศษ ที่หลอมรวมเอาวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในภาคใต้ จากวิถีการดำรงชีพที่สัมพันธ์เกื้อกูลกัน  อันมาจากภูมินิเวศที่เป็นเขา ป่า นา เล  เชื่อมโยงกันทั้งทรัพยากรและวิถีของผู้คน อาหารชนิดนี้หากใครได้ลิ้มลองก็คงจะต้องนึกถึงว่า วัตถุดิบล้วน ได้มาจากแหล่งเกษตรกรรม ซึ่งทำนาข้าว ปลูกสวนมะพร้าว แหล่งประมงน้ำลึกและประมงชายฝั่ง รวมถึงการทำนาเกลือ  รวมกันอยู่ในเมนู "ตูปะซูตง"  เมนูตูปะซูตงนี้จะใช้ปลาหมึกกล้วยเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งปลาหมึกกล้วยนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีโอเมก้า 3 สูงมาก โดยโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ถึงแม้ว่าในปลาหมึกจะมีโคเลสเตอรอลอยู่ด้วยก็ตาม แต่โอเมก้า 3 จะควบคุมไม่ทำให้โอเมก้าสูง สำหรับคนญี่ปุ่นที่นิยมรับประทานปลาดิบรวมถึงปลาหมึกดิบบอกว่า “Eat Squid Stay Young” คือกินปลาหมึกแล้วจะดูอ่อนวัย โอเมก้า 3 ช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ดูเปล่งปลั่ง เต่งตึง ไม่เหี่ยวย่น ทั้งนี้ทั้งนั้นการรับประทานอาหารแต่ละอย่างก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถ้ากินเยอะเกินไปก็อาจให้โทษต่อร่างกายได้เช่นกัน ตูปะซูตง มีส่วนผสมและวัตถุดิบที่มีประโยชน์ อย่างเช่น 
หมึก เป็นแหล่งโปรตีน เราได้หมึกมาจากการประมงของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งหมึกที่นิยมใช้ทำตูปะซูตง จะนิยมใช้หมึกกล้วยกัน หมึกมีโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย ประโยชน์ของปลาหมึกช่วยให้ใบหน้าเปล่งปลั่งดูอ่อนกว่าวัย ช่วยป้องกันโรคคอพอกหรือภาวะขาดสารไอโอดีน และมีประโยชน์สามารถยับยั้งเนื้องอกได้ หมึกเป็นอาหารที่มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างมาก แต่หากรับประทานมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย
ข้าว ใช้ข้าวเหนียว แหล่งอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรท เป็นข้าวแป้งที่ถูกย่อยได้ง่าย และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว นิยมทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทานแล้วอิ่มท้อง ทานคู่กับอาหารได้หลากหลายอย่าง


มะพร้าว แหล่งอาหารประเภทไขมัน ที่อยู่คู่กับชาวปักษ์ใต้ ทั้งสองฝากฝั่ง  นำมาขูดและคั้นกะทิสดๆ  กรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพดีนักแล ปัจจุบันนี้นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวจากกรรมวิธี สกัดเย็น คงคุณค่าของกรดไขมันไว้เต็มเปี่ยม
น้ำตาลโตนด แหล่งอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทให้ความหวาน  จากต้นตาลโตนดที่ปลูกอยู่ริมนาหรือขอบๆพรุ เป็นแหล่งรายได้ของผู้ที่ชอบน้ำตาลสด  อีกทั้งน้ำตาลโตนดยังให้ความที่เข้มข้นกว่าน้ำตาลทราย จึงนิยมใช้น้ำตาลโตนดในการทำขนมหวาน
เกลือ แหล่งแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะไอโอดีน ปกติเราใช้เกลือทะเลจากอ่าวปัตตานีที่ขึ้นชื่อว่า รสชาติกลมกล่อม " เกลือหวาน" เป็นเกลือที่มีคุณภาพดีแตกต่างจากที่อื่นแม้จะมีรสเค็มเหมือนกัน แต่กลมกล่อมกว่า นาเกลือที่นี่ส่งไปขายเลี้ยงทั่วคาบสมุทรมาลายา เพราะว่าในถิ่นด้ามขวานของแผ่นดินไทย ซึ่งเมนูนี้มีวัตถุดิบและวิธีการทำที่ไม่ยาก
อาหารแต่ละชนิดมิใช่เพียงแค่อิ่มปากท้องแต่คงมีความหมาย ถึงการหล่อหลอมรวมกัน นำมาผสมผสานจากทรัพย์ในดินและสินในน้ำ ผลพวงจากการประดิษฐ์คิดค้นแต่งแต้มสีสันและกลิ่น เพื่อให้ได้รสชาติแสนอร่อย อย่างชาญฉลาดล้วนแล้วเกิดจากบรรพบุรุษของเราทั้งสิ้น






วัตถุดิบและเครื่องปรุงรส
1.ปลาหมึกกล้วยสด 1 กก.
2.น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 แว่น (ใช้น้ำตาลนี้ จะเพิ่มกลิ่นที่หอมยิ่งขึ้น หากไม่มี จะใช้น้ำตาลทรายก็ได้)
3.กะทิแยกหัวหาง 1/2 กก
4.เกลือ 2 ช้อนชา
5.ตะไคร้ทุบและหั่นเป็นท่อน 3 ต้น หรือใบเตย 3 ใบ(มัดรวมกัน)
6.ข้าวเหนียวแช่น้ำ 3-5 ชั่วโมง 200 กรัม (ถ้าแช่ค้างคืน ข้าวเหนียวจะนุ่มกว่า)
7.เกลือปรุงรสเล็กน้อย
8.ไม้กลัด
 ขั้นตอนการทำ
1.ล้างข้าวเหนียวและแช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง(ถ้าแช่นานเวลาต้มจะสุกไวขึ้นและข้าวก็นุ่มกว่าหรือควรแช่ทิ้งไว้ข้ามคืน) หลังจากแช่ข้าวเหนียวได้ที่แล้วเทใส่ตะกร้าตาถี่ให้สะเด็ดน้ำพักไว้ (เก็บน้ำแช่ข้าวเหนียวไว้ล้างปลาหมึกเพื่อดับกลิ่นคาว)
2.ล้างปลาหมึกด้วยน้ำซาวข้าวลอกหนังและแยกหัวและตัว ปากและตาตัดทิ้ง พักให้สะเด็ดน้ำ (ล้างด้วยน้ำที่แช่ข้าวเหนียว)
3.เทหัวกะทิใส่กระทะตามด้วยข้าวเหนียวปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อยพอให้กลมกล่อม น้ำตาลโตนดครึ่งแว่น ผัดให้ข้าวดูดซึมหัวกะทิพอแห้งๆไม่ต้องถึงกับข้าวสุก ตักออกมาพักให้เย็น
4.นำข้าวที่ผัดกับกะทิที่เย็นแล้วมาตักกรอกและยัดๆใส่ตัวปลาหมึกให้แน่น (แต่อย่าให้แน่นมากเวลาต้มตัวปลาหมึกจะแตก)
5.นำหนวดปลาหมึกมายัดปิดแล้วใช้ไม้กลัดโดยเสียบจากด้านข้างให้ทะลุไปถึงอีกด้านเพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวล้นออกมาเวลาต้ม
6.นำน้ำตาลมะพร้าวมาสับและใส่กระทะลงไปเคี่ยวใช้ไฟอ่อนๆ และหมั่นคนจนเป็นสีน้ำตาลไหม้ (เวลาต้มเคี่ยวจะได้หอมกลิ่นน้ำตาลและสีเข้มสวยแต่อย่าให้ถึงกับไหม้จะเหม็นไหม้และขม) ค่อยๆเทกะทิส่วนหางลงไป คนๆให้เข้ากันตามด้วยตะไคร้หรือใบเตยปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย
7.พอกะทิเดือดค่อยๆวางปลาหมึกลงไปจนหมดไม่ต้องคนเพราะกลัวส่วนหัวจะหลุด ถ้าน้ำกะทิไม่ท่วมปลาหมึกเติมเล็กน้อย ปิดฝาและต้มไฟอ่อนๆไปจนน้ำงวดและข้าวสุก ปิดไฟ
8.นำปลาหมึกมาตัดเป็นชิ้นๆ พร้อมราดน้ำซอสที่เหลือในหม้อเล็กน้อย



















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Kata Kerja คำกริยา

            KATA KERJA                Kata Kerja (คำกริยา)   หมายถึง    คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ             Kata Kerja dalam Bahasa Melayu      คำกริยาในภาษามลายู Contohnya :         berjalan  =  walk   makan  =  eat membaca    =    read tidur  =   sleep  menulis   =   write bermain  =   play panggilan   =  call Kata kerja terbahagi kepada  2 jenis.                                           ...

KATA TUGAS

KATA TUGAS Kata tugas( ชนิดของคำ)    หมายถึงคำที่ปรากฏในประโยค อนุประโยคหรือวลีที่มีหน้าที่ที่แน่นอน ชนิดของคำสามรถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ และ 14 ชนิดย่อ   (1). คำเชื่อมประโยค ( Kata penyambung ayat)         a. คำเชื่อม ( kata hubung) (2). คำที่ปรากฏหน้าอนุประโยค ( Kata praklausa)         a. คำอุทาน ( kata seru)         b. คำถาม( kata tanya )         c. คำสั่ง ( kata perintah)         d. คำตอบรับ ( kata pembenar )         e. คำที่ปรากฏต้นประโยค ( kata pangkal ayat) (3). คำวลี ( Kata prafrasa )        a. คำช่วย ( kata bantu)        b. ความถี่ ( kata penguat)        c. การเน้นย้ำ ( kata penegas)     ...