ตูปะซูตง อัตลักษณ์อาหารหวาน ชายแดนใต้ ตูปะซูตง เป็นภาษาถิ่นมลายู ตูปะ (หรือ ตูป๊ะ , ตูปัต) หมายถึง ข้าวต้มใบกระพ้อ มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวห่อใบกระพ้อแล้วนำไปต้มคล้ายข้าวต้มมัด , ซูตง หมายถึง ปลาหมึก เมื่อรวมกันจึงหมายถึงปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียวต้มหวาน เป็นอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี คนในพื้นที่จึงนิยมรับประทานเป็นอาหารหวาน จะความปราณีตและทะนุถนอมในการทำและปรุงรสนั้น คงไม่พ้นฝีมือคนเฒ่าคนแก่ คนดั้งเดิมในพื้นที่ "ตูปะซูตง" เป็นอาหารพิเศษ ที่หลอมรวมเอาวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในภาคใต้ จากวิถีการดำรงชีพที่สัมพันธ์เกื้อกูลกัน อันมาจากภูมินิเวศที่เป็นเขา ป่า นา เล เชื่อมโยงกันทั้งทรัพยากรและวิถีของผู้คน อาหารชนิดนี้หากใครได้ลิ้มลองก็คงจะต้องนึกถึงว่า วัตถุดิบล้วน ได้มาจากแหล่งเกษตรกรรม ซึ่งทำนาข้าว ปลูกสวนมะพร้าว แหล่งประมงน้ำลึกและประมงชายฝั่ง รวมถึงการทำนาเกลือ รวมกันอยู่ในเมนู "ตูปะซูตง" ...
KATA TUGAS Kata tugas( ชนิดของคำ) หมายถึงคำที่ปรากฏในประโยค อนุประโยคหรือวลีที่มีหน้าที่ที่แน่นอน ชนิดของคำสามรถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ และ 14 ชนิดย่อ (1). คำเชื่อมประโยค ( Kata penyambung ayat) a. คำเชื่อม ( kata hubung) (2). คำที่ปรากฏหน้าอนุประโยค ( Kata praklausa) a. คำอุทาน ( kata seru) b. คำถาม( kata tanya ) c. คำสั่ง ( kata perintah) d. คำตอบรับ ( kata pembenar ) e. คำที่ปรากฏต้นประโยค ( kata pangkal ayat) (3). คำวลี ( Kata prafrasa ) a. คำช่วย ( kata bantu) b. ความถี่ ( kata penguat) c. การเน้นย้ำ ( kata penegas) ...